วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คืออะไร (AEC)

AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก (อย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว)

การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดๆเล่าให้ฟังแบบง่ายๆคือ
-การลงทุนจะเสรีมากๆ คือ ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ประเทศที่การศึกษาระบบดีๆ ก็จะมาเปิดโรงเรียนในบ้านเรา อาจทำให้โรงเรียนแพงๆแต่คุณภาพไม่ดีลำบาก

- ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอยู่กลาง Asean และไทยอาจจะเด่นในเรื่อง การจัดการประชุมต่างๆ, การแสดงนิทรรศการ, ศูนย์กระจายสินค้า และยังเด่นเรื่องการคมนาคมอีกด้วยเนื่องจากอยู่ตรงกลางอาเซียน และการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพจะเติบโตอย่างมากเช่นกันเพราะ จะผสมผสานส่งเสริมกันกับอุตสาหกรรรมการท่องเที่ยว (ค่าบริการทางการแพทย์ต่างชาติจะมีราคาสูงมาก)

-การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25% ในส่วนของอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น รถยนต์, การท่องเที่ยว, การคมนาคม, แต่อุตสาหกรรมที่น่าห่วงของไทยคือ ที่ใช้แรงงานเป็นหลักเช่น ภาคการเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ

-เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมากมาย เนื่องจากจะมีคนอาเซียน ป้วนเปี้ยนในไทยมากมายไปหมด และเค้าจะพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่จะใช้ภาษาอังกฤษ โดยป้ายต่างๆ หนังสือพิมพ์, สื่อต่างๆ จะมีภาษาอังกฤษมากขึ้น (ให้ดูป้ายที่สนามบินสุวรรณภูมิดิ่) และจะมีโรงเรียนสอนภาษามากมาย หลากหลายหลักสูตร

-การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมาย เนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมาด้วย

-เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้สกิลอีกต่อไปเพราะแรงงานจะเคลื่อย้ายเสรี จะมี ชาวพม่า, ลาว, กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่ปัญหาสังคมจะเพิ่มขึ้นแทน อันนี้รัฐบาลควรระวัง

-คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้ค่าแรงถูกมาก อันนี้สมองจะไหลไปสิงคโปร์เยอะมากๆ คอยดูดิ่ แต่พวกชาวต่างชาติก็จะมาทำงานในไทยมากขึ้นเช่นกัน อาจมีชาว พม่า, กัมพูชา เก่งๆ มาทำงานกับเราก็ได้ โดยจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง

-อุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า บริเวณชายแดนจะคึกคักมากขึ้น

-สาธารณูปโภคในไทย หากเตรียมพร้อมไม่ีดีอาจขาดแคลนได้เช่น ชาวพม่า มาคลอดลูกในไทย ก็ต้องใช้โรงพยาบาลใไทยเป็นต้น

-กรุงเทพฯ จะแออัดอย่างหนัก เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นตรงกลางของอาเซียนและเป็นเมืองหลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจมีสำนักงานของต่างชาติมาตั้งมากขึ้น ก็เป็นได้ รถจะติดอย่างมาก สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัดมากขึ้น (ดีที่อาจสร้างเพิ่มได้)

-ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหาร เพราะ knowhow ในไทยมีเยอะประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง กระกอบทำเลที่ตั้งเหมาะสมอย่างมาก

-ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจาก จะมีขยะจำนวนมากมากขึ้น, ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างๆชาติที่ด้อยกว่าอาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้, จะมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น และอาจมี พม่าทาวน์, ลาวทาวน์, กัมพูชาทาวน์, ปัญหาอาจญากรรมจะรุนแรงสถติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากชนนั้นที่มีปัญหา, คนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

เป้าหมาย : เพื่อให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น มีการไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอกได้ โดย

เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว :เน้นการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือระหว่างกันอย่างเสรี

มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง :เน้นการดาเนินนโยบายการแข่งขัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนา ICT และพลังงาน

มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน :ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการขยายตัวของ SMEs ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกใหม่ (CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา

บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์ : เน้นการจัดทา FTA และ CEP กับประเทศคู่เจรจา

AEC เปิดเสรี 5 ด้าน ไทยได้เปรียบเสียเปรียบอะไรบ้าง  
AEC หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ จะกลายเป็นตลาดเดียวกัน (single market) เป็นเขตการค้าเสรีที่ภาษีเป็น 0% ในปี 2558 จะมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเสรี (free flow) 5 สาขา คือ
1. สินค้า
2. บริการ
3. การลงทุน
4. เงินทุน
5. แรงงานฝีมือ



วิเคราะห์ผลกระทบและความได้เปรียบเสียเปรียบของไทยใน 5 ด้านที่กล่าวมานี้ ก็จะพบว่า สินค้าส่งออกที่ไทยได้เปรียบ คือ ข้าวโพด ยาง เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรถยนต์ แต่ในบางรายการอาจจะเสียเปรียบ เช่น สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม อาทิ มันสำปะหลัง สิ่งทอ เม็ดพลาสติก เป็นต้น ในกรณีที่เปรียบเทียบกับตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

การเปิดเสรีด้านบริการ ต้องยอมรับว่า สิงคโปร์น่าจะได้อานิสงส์มากที่สุดในอาเซียน โดยเฉพาะด้านไอซีที และไฟแนนเชียล ส่วนไทยจะโดดเด่นในด้าน การท่องเที่ยว สุขภาพ และความงาม

การเปิดเสรีด้านการลงทุน เป็นที่ทราบแล้วว่า ต่อไปนี้ ไทยจะไม่ใช่ฐานการผลิตที่น่าสนใจอีกต่อไป เนื่องมาจากนโยบายกีดกันลดความเชื่อมั่นของนักลงทุนทางอ้อม ประเทศเพื่อนบ้านซ้ายขวาของไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์และแรงงานราคาถูกเป็นตัวดึงดูดใจนักลงทุนต่างชาติมากกว่าของไทย แต่เหนือสิ่งอื่นใดนักลงทุนให้น้ำหนักเป็นอย่างมากกับปัจจัยด้านเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างถ้วนหน้า ไม่ว่าคุณจะเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหนก็ตาม

การเปิดเสรีด้านเงินทุน ตลาดทุนในอาเซียนมีทิศทางการเคลื่อนไหวตามสภาวะการณ์ที่ผันผวนจากผลกระทบในระดับโลก กลุ่มทุนใหญ่ ๆ แค่ไม่กี่กลุ่ม และกองทุนจากต่างชาติ เป็นแรงกระเพื่อมสำคัญในการโยกย้ายเงินทุนตลาดทุนเกิดใหม่ในกลุ่ม CLV ต้องใช้ระยะเวลาตั้งไข่สักพัก ส่วนของไทยต้องดูว่ารัฐบาลในอีก 4 ปีข้างหน้า มีเสถียรภาพมากน้อยแค่ไหน เชื่อใจได้หรือเปล่า อุตสาหกรรมอะไรที่จะไป พรรคการเมืองไหนจะมา ?

การเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ อนาคต แรงงานระดับล่างจะไหลเข้าสู่ไทย เพื่อมารับค่าแรงขั้นต่ำแพงๆ ส่วนแรงงานหัวกะทิจะสมองไหลไปสู่สิงคโปร์ และมาเลเซีย เพื่อกินเงินเดือนแพงๆ เช่นกัน โดยเฉพาะแพทย์ วิศวกร และอาจจะมี ไอที กับ การเงิน ตามไปด้วย การอพยพแรงงานจะทำให้เกิดการผสมกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรม และปัญหาสังคมตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินอาจมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนตามไปด้วยสิ่งที่น่าเป็นห่วงในการเคลื่อนย้ายเสรี ก็คือ วงการค้ายาเสพติด และค้ามนุษย์ มันจะลื่นไหลไปด้วยหรือเปล่า และการสวมสิทธิ์จากคนต่างชาตินอกอาเซียนที่แปลงสัญชาติเข้ามารับประโยชน์จากการเปิดเสรีในครั้งนี้ ทำให้มีความกังวล

การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีเฉพาะแรงงานฝีมือเท่านั้น เริ่มต้นที่ 7 อาชีพ
  ตามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Bali Concord II) ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2547 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีดังกล่าว เป็นการเคลื่อนย้ายเฉพาะแรงงานฝีมือและต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (MRAs) ของอาเซียน การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีจะเริ่มในปี ค..2015 ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (MRAs) ใน 7 สาขาด้วยกันคือ วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี ส่วนสาขาอื่น ๆ ยังอยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานไทยคือ จำกัดอยู่ในกลุ่มแรงงานฝีมือ ฉะนั้น ตลาดแรงงานไทยจึงได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยด้านบวกคือ ตลาดแรงงานใหญ่ขึ้น ทำให้แรงงานไทยมีโอกาสได้งานทำมากขึ้น ส่วนด้านลบคือ มีการแข่งขันโดยแรงงานจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมากขึ้น ทั้งนี้ ผลกระทบดังกล่าวจะเป็นด้านบวก หรือด้านลบมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมของแรงงานในแต่ละประเทศ และยังมีเวลาที่จะเตรียมความพร้อมของแรงงานไทยในการพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียน







แล้ว AEC จะพัฒนาไปถึงระดับเดียวกับ Euro zone ได้หรือไม่
น่าจะเป็นไปได้ยากเนื่องจาก ภูมิประเทศของ ASEAN ไม่เอื้ออำนวยมากนักเพราะหลายๆประเทศก็มีพื้นที่ห่างกัน และรายได้ต่อหัวของประชากรนั้นก็ต่างกันมาก เช่น สิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวต่อปีประมาณ 40,000 USD/year ซึ่งต่างจากประเทศพม่าซึ่งมีรายได้ต่อหัวต่อปีประมาณ 500 USD/year เท่านั้น ซึ่ง AEC ยังคงต้องใช้เวลาอีกมาก กว่าจะก้าวไปถึงจุดนั้น หากต้องการ อ่านบทความอื่นๆ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันนออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)หรือ “อาเซียน” เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า
อาเซียนมีพื้นที่ ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ.2553 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของชาติสมาชิกรวมกัน คิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในลำดับที่ 9 ของโลก เมื่อเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวม
สมาชิกจำนวน 10 ประเทศดังกล่าวได้รวมตัวเป็น “ประชาคมอาเซียน” อันประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน 3 เสาหลัก (Pillars) คือ
(1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN PoliticalSecurity Community : ASC)
(2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community : AEC)และ
(3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community : AEC) มีเป้าหมายของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานฝีมือ ภายในอาเซียนอย่างเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นภายในปี พ.ศ.2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และการบริการในสาขาที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเช่น การท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคารสุขภาพ ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม จึงเป็นความท้าทายและโอกาสใหม่ของประเทศไทย ที่จะส่งผลให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่จะมีการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มในภูมิภาค (Regional Value Chain) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และการขยายตลาดอาเซียนที่มีประชากรกว่า 590 ล้านคน
การก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 จะส่งผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทยและประเทศไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างอาเซียน ภายหลังการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนประชาคมเศรษฐกิจจะมีองค์ประกอบสำคัญ คือ การเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน และเงินลงทุนที่เสรีมากขึ้น มีความสามารถในการแข่งขันสูง มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก

ข้อมูลจาก
http://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/
http://www.xn--12cfnfi1a0ej0dodd8dp7dwb9aj9ay4tja.net/
http://www.cmemployment.org/newtopic/pohots.asp?Po_noticeidpk=44

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น